เด็กบังเอิญ

"...บทความต่างๆ ผมได้อ่านมาจากหนังสือต่างๆ และรวมรวมมาจากเว็บต่างๆด้วยและได้ยินมาด้วย ผมจึงรู้สึกว่า คำเหล่านี้และบทความเหล่านี้ อาจช่วยให้ เราได้ข้อคิดให้กำลังใจในการใช้ชีวิตบนโลกกลมๆใบนี้อย่างมีความสุขในสิ่งที่ดี งามสามารถหยิบเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่มากก็น้อยสมควรแก่ผู้สนใจครับ ... ขอขอบคุณทุกคน ณ โอกาสนี้ครับ...." ສະບາຍດີ (เด็กบังเอิญ...)

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555




บทความนี้ท่านอ่านแล้วท่านได้ความคิดอะไรบ้างความจนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้อีกต่อไป  อ่านให้จบนะจะได้อะไรมากกว่าที่คิด  .....

ดร.เอมเบดการ์ หรือชื่อเต็มของท่าน คือ บาบาสาเหบ พิมเรา รามจิ เอมเบดการ์ เกิดในวรรณะจัณฑาล ซึ่งยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฎร์
    ในวัยเด็กท่านมีชื่อเรียกสั้นๆว่า “เด็กชายพิม” แม้จะเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนจบชั้นมัธยมได้สำเร็จ แต่ในระหว่างที่เรียนนั้น พิม ต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยียดหยามของทั้งครู และนักเรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่าเสมอ เช่น เมื่อเข้าไปในห้องเรียน ทั้งครูและเพื่อนๆ จะแสดงอาการขยะแขยง รังเกียจ ไม่ได้รับอนุญาตให้ไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน ต้องปูกระสอบแอบนั่งเรียนอยู่ที่มุมห้อง แม้เวลาจะดื่มน้ำ ก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท็งก์น้ำ หรือแก้วที่วางอยู่ (ต้องขอร้องเพื่อนๆที่พอจะมีความเมตตาอยู่บ้าง โดยจะคอยแหงนหน้า อ้าปาก รอให้เพื่อนเทน้ำลงใส่ปากให้) เพื่อป้องกันเสนียดจากคนต่างวรรณะ ซึ่งเป็นความน่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก อะไรจะรังเกียจขนาดนี้หวัเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยคงไม่มีนะ
    จนกระทั่งมีครูคนหนึ่ง อยู่ในวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีความเมตตาผิดกับคนในวรรณะเดียวกัน เกิดจิตคิดสงสาร บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหารของตนให้กับพิม ครูท่านนี้คิดว่า เหตุที่พิมถูกรังเกียจ เพราะนามสกุลของเขา บ่งชี้ความเป็นจัณฑาล คือ "สักปาล" ครูท่านนี้จึงได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับพิม โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้ได้ใช้นามสกุลว่า "เอมเบดการ์" พิมจึงได้นามสกุลใหม่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้หลายคนคิดว่าพิม เป็นคนในวรรณะพราหมณ์ไปเลยก็มี
    ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับจัณฑาล จึงได้มีนักสังคมสงเคราะห์พาพิม เอมเบดการ์ เข้าเฝ้า พระองค์ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อ ทำให้พิมสามารถเรียนจนจบปริญญาตรีได้ ต่อมาพระองค์ ยังทรงคัดเลือกนักศึกษาอินเดียซึ่งรวมถึงพิม ให้ไปเรียนต่อยังมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ที่นี่ พิมได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า “อิสรภาพ และ ความเสมอภาค” ไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจเขา พิมเรียนจนจบการศึกษาขั้นปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ได้เป็นเนติบัณฑิตแห่งอังกฤษ และได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ทางด้านกฎหมาย จนมีชื่อว่า “ดร.พิม เอมเบดการ์”
    หลังจาก ท่านเดินทางกลับมาอินเดีย ก็ได้พยายามต่อสู้เพื่อคนวรรณะเดียวกัน และกับความอยุติธรรม ที่สังคมฮินดู ยัดเยียดให้กับคนในวรรณะต่ำกว่า ท่านมีผลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆอย่างในอินเดียขณะนั้น เช่น เป็นจัณฑาลคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คอยช่วยคนวรรณะต่ำที่ถูกข่มเหงรังแก หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช ก็เป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญของอินเดียด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น